Friday, February 17, 2012

ตลาดน้ำมัน และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมัน

น้ำมันดิบที่สำคัญในตลาดโลก

น้ำมันดิบจะมีชื่อเรียกตามแหล่งผลิต ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงที่มาและคุณภาพ โดยแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในโลกมีอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) และน้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI) โดยน้ำมันดิบเหล่านี้มีแหล่งผลิตและคุณภาพที่แตกต่างกันไปดังนี้

น้ำมันดิบดูไบ (Dubai Crude)

เป็นน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันใต้ทะเลทรายในเอเชียตะวันออกกลาง น้ำมันดิบที่ได้จากบริเวณนี้จะมีลักษณะที่เรียกว่า หนักและเปรี้ยว หรือที่เรียกกันว่า Heavy Sour Crude โดยน้ำมันดิบดูไบจะมีค่าความหนาแน่นจ้าเพาะ (API Gravity) ประมาณ 31 ดีกรี และมีปริมาณซัลเฟอร์ประมาณ 2%

น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent Crude)

มีแหล่งผลิตอยู่ในทะเลเหนือ (North Sea) หรือทะเลที่อยู่ระหว่างเกาะอังกฤษและคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย น้ำมันดิบเบรนท์ ถือว่าเป็นน้ำมันเบาและหวาน (Light Sweet Crude) เนื่องจากมีค่า API อยู่ที่ประมาณ 39 ดีกรี และมีปริมาณซัลเฟอร์อยู่ที่ประมาณ 0.4%

น้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI Crude)

หรืออีกชื่อหนึ่งคือ West Texas Intermediate เป็นน้ำมันดิบอ้างอิงที่ส้าคัญในทวีปอเมริกา น้ำมันดิบ WTI เป็นน้ำมันประเภทเบาและหวาน (Light Sweet Crude) โดยมีค่า API อยู่ที่ประมาณ 37 - 42 ดีกรี และมีปริมาณซัลเฟอร์อยู่ที่ประมาณ 0.24%

ทั้งนี้ สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าที่มีการซื้อขายและได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกนั้น ได้แก่ Light Sweet Crude Oil Futures (WTI) ที่ซื้อขายในตลาด NYMEX ของกลุ่ม Chicago Mercantile Exchange (CME Group) ในสหรัฐอเมริกา และ ICE Brent Crude Futures (Brent) ซึ่งซื้อขายที่ตลาด ICE Europe ในลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยราคาของน้ำมัน WTI และ Brent ที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ นั้น ก็เป็นราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าที่ซื้อขายในสองตลาดนี้

อย่างไรก็ตามในช่วงหลัง ราคาน้ำมัน WTI มีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการส่วนหนึ่งเห็นว่าราคา WTI ไม่ได้สะท้อนราคาน้ำมันอย่างแท้จริง จึงท้าให้ Brent เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น และมีราคาสูงกว่า WTI


ปัจจัยกำหนดราคา Oil Futures

ราคา Oil Futures ปรับเปลี่ยนขึ้นลงทุกวัน ตามการเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้น้ำมันดิบและปริมาณน้ำมันดิบที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้ ความต้องการใช้น้ำมันดิบ (Demand) อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจาก

- การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว ความต้องการใช้น้้ามันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ความต้องการน้ำมันดิบและราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มตาม ในทางตรงกันข้าม ในภาวะเศรษฐกิจหดตัวหรือภาวะถดถอยกิจกรรมที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลง ความต้องการน้ำมันดิบก็จะลดลง และท้าให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงตามไปด้วย

- สภาพภูมิอากาศ ความต้องการน้ำมันดิบอาจเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล เช่น ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ จะมีความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามฤดูกาล โดยในฤดูหนาว ความต้องการน้ำมันเพื่อสร้างความอบอุ่นจะสูงขึ้น โดยเฉพาะในปีที่อากาศหนาวเย็นรุนแรงกว่าปกติ ในขณะที่ช่วงฤดูร้อน ความต้องการน้ำมันกลับไม่ได้ลดลง แต่เปลี่ยนเป็นความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการท่องเที่ยวสัญจรไปในภูมิภาคต่างๆ แทน


อุปสงค์น้ำมันดิบ (Supply) ขึ้นกับปัจจัยดังนี้

- ปริมาณการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้้น้ำมันเพื่อการส่งออก หรือ โอเปก (Organization of Petroleum Exporting Countries: OPEC) ซึ่งมีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง ท้าให้สามารถควบคุมการผลิตของกลุ่มให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ได้ ปริมาณน้ำมันดิบในตลาดโลกจึงมักจะปรับตามนโยบายที่กลุ่มโอเปกได้วางไว้

- ปริมาณน้ำมันสำรองของประเทศผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรป โดยประเทศเหล่านี้จะทำการเก็บสำรองน้ำมันไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางพลังงานภายในประเทศ โดยหากตัวเลขน้ำมันสำรองมีสูง ผู้ใช้น้้ามันและผู้ลงทุนก็จะไม่กังวลว่าปริมาณน้ำมันอาจจะตึงตัว ส่งผลให้ราคาน้้ามันมีแนวโน้มลดลงได้

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อราคาน้ำมันดิบอีก ได้แก่ การสร้างแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อ ลดความต้องการใช้งานน้ำมันดิบ ภาวะสงครามหรือความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันซึ่งส่งผลต่อ ความต่อเนื่องในการผลิตน้ำมันดิบของประเทศนั้นๆ และระดับอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบ เช่น ประเทศไทยที่นำเข้าน้ำมันดิบในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ หากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็จะท้าให้ราคาน้ำมันดิบในรูปเงินบาทสูงขึ้น เป็นต้น

 

ที่มา: Investorchart